Space Capture เพื่อสร้างสรรค์งาน Animation&Game

Space Capture เพื่อสร้างสรรค์งาน Animation&Game

สำหรับงาน Animation&Game นั้นสิ่งสำคัญที่สุดคงจะเป็นเรื่องขอวงองค์ประกอบต่างๆ ที่จะเป็นตัวหลักในการครองใจคอเกมส์ใช่มั้ยครับ เพราะล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ถูกออกแบบมาอย่างละเอียด และลงลึกในทุกๆ ดีเทล ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร ที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องราว ความสามารถพิเศษหรือ Effet ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับงาน หรืออีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของฉากต่างๆ ที่จะปรากฎขึ้นในทุกๆ การผจญภัย ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว และในการทำฉากแต่ละซีนนั้นผู้สร้างงานจะต้องมีการวางแผน มีการออกแบบที่ละเมียดมากๆ ทำให้เกิดความสมจริงมากที่สุด และในบางครั้งผู้สร้างสรรค์งานจะต้องมีการลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลไปทำงานนั้นเอง โดยในการเก็บข้อมูลนั้นส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีในการถ่ายภาพและใช้อุปกรณ์วัดในการทำงาน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้

ซึ่งทุกวันนี้เรามีทางเลือกที่ตอบโจทย์ด้านนี้แล้วครับทุกครน นั่นก็คือเครื่องสแกน Slam 100 ซึ่งเป็นอุปกรณ์สแกนพื้นที่ระบบ Handhel ที่เรียกได้ว่าสะดวกสุดๆ เพราะเพียงเราเปิดเครื่องเชื่มอต่อสมาร์ทโฟน และกดเริ่มในในแอพพลิเคชั่น เพียงเท่านี้ก็เริ่มสแกนได้แล้วครับ ซึ่งต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าสิ่งที่จะได้นั้นคุ้มค่าราคามากๆ จากที่เราต้แงเสียเวลาเป็นวันๆ ในการเข้าพื้นที่ แต่เจ้าเครื่องนี้สามารถสแกนได้ใน 15-30 นาทีเท่านั้นเอง (แล้วแต่ขนาดพื้นที่) โดยไฟล์ Piont Cloud นี้สามารถแปลงออกมาได้ทั้ง .E57, .ply, .obj และอีกหลายนามสกุลที่สามารถทำได้ และยังสามารถนำไปทำงานได้ในโปรแกรมอนิเมชั่นชั้นนำอาทิ เช่น Blender, Unity, Unreal Engine เป็นต้น

วิธีใช้งานไฟล์ Piont Cloud ในโปรแกรม Animation

วันนี้ Dfine จะขอมานำเสนอวิธีการนำไฟล์ piont cloud เข้าไปยังโปรแกรมทำอนเมชั่นเพื่อใช้งานนนั่นเองครับ เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการลดระยะเวลาในการสร้าง location ขึ้นมาแล้วยังเป็นการเพื่อความแม่นยำและทำให้งานออกมามีความสมจริงมากขึ้นนั้นเองครับ

Point Cloud แสดง elevation Heat Map ย้อมสีตามความสูงของสถานที่

1. Process Point Cloud โดยหลังจากที่เราทำการสแกนสถานที่มาเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้เรานำไฟล์ที่ได้มาทำการประมวณผลในโปรแกรม ของอุปกรณ์และทำการ Export ออกมา ซ฿่งในการทำงานของ Slam GO Post นี้เราจะ export ออกมาเป็นไฟล์ .Las ซึ่งเป็นไฟล์ที่สามารถนำไปใช้ได้กับโปรแกรม 3D ทั่วไปได้ทันที

2. แปลงไฟล์ ซึ่งในการทำงานในโปรแกรม 3มิติ นั้นอาจจะต้องมีการเตรียมไฟล์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้เช่นกัน ซึ่งในการแปลงไฟล์ในครั้งนี้เราเลือกแปลงในโปรแกรม Agisoft Metashape ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เน้นการทำงานกับ point cloud เป็นหลัก และในขั้นตอนนี้นั้น เราสามารถทำการลบส่วนที่เราไม่ต้องการออกได้ทันที ซึ่งมีข้อดีก็คือ ทำให้ไฟล์นั้นไม่หนักมากจนเกินไปจากส่วนที่ไม่จำเป็น ทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้นเพราะคอมพิวเตอร์ไม่ต้องประมวลผล point cloud ทั้งหมด

3. Export ไฟล์ ออกมาใช้งาน โดยไฟล์ที่โปรแกรม Agisoft Metashape สามารถ export ออกมาได้นั้นมีความหลากหลายมาก และมากพอที่จะใช้งานกกับโปรแกรม 3มิติอยู่แล้วทั้ง .E57, .ply, .obj และอีกหลายนามสกุล โดยขั้นตอนนี้ให้ทุกท่านเลือก File >> Export >> Export Piont จากนั้นเลือกนามสกุลที่ต้องการและตั้งชื่อไฟล์ได้ทันที

ตัวอย่างการนำเข้า point cloud ในโปรแกรม Blender

4. Import file เข้าโปรแกรม 3มิติ ในการสาธิตครั้งนี้ ทีมงานขอยกตัวอย่างการนำเข้าในโปรแกรม Blender ที่เป็นโปรแกรมที่นักทำงาน 3มิติต้องรู้จักกันอยู่แล้วอย่างแน่นอน โดยเอกสารลักษณ์ของโปรแกรมนี้ที่นอกจากเป็นโปรแกรมฟรี แล้วยังโดดเด่นด้วย เครื่องมือที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เครื่องมือในโปรแกรมมีให้ใช้หลากหลาย และสามารถทำงานออกมาได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งการนำเข้านั้นก็ให้ทุกคนไปที่ File >> Import >> เลือกนามสกุล >> เลือกไฟล์ เพียงเท่านี้ก็สามารภนำไฟล์เข้ามาได้แล้ว แต่เวลาในการนำเข้าไฟล์นั้นอาจจะใช้เวลาสักหน่อยนะครับ เพราะรายละเอียดของแต่ละนามสกุลนั้นไม่เท่ากัน

และหากใครอยากทราบวิธีการนำเข้าไฟล์โดยละเอียดทุกคนสามารถดูได้จากไฟล์วีดีโอตัวอย่างการทำงานในคลิปด้านบนนี้เลย ซึ่งอธิบายและสามารถทำตามได้อย่างไม่ยากมากนัก

ข้อดีของการใช้ไฟล์ Point Cloud ทำงาน

1. การทำงานของ point cloud สามารถทำงานได้ทันทีและสะดวกมากกว่าการสร้างใหม่

2. เวลาทั้งในการสแกนและการนำเข้าไฟล์ไม่นาน ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น

3. สีที่ได้จากการสแกนเป็นสีที่ใกล้เคียงของจริง สามารถเทียบและสร้างงานได้ทันทีโดยไม่ต้องเทียบ

4. เทียบสเกลได้อย่างสมจริง ไม่มีปัญหาเรื่องสัดส่วนหรือขนาด

ข้อสังเกตที่น่าสนใจ

1. ไฟล์ค่อนข้างใหญ่ คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอาจจะต้องมีสเปกที่สูงและเผื่อหน่วยความจำไว้

2. ควรลบส่วนที่ไม่จำเป็นออกให้หมด มิฉะนั้นอาจจะมีผลต่อการประมวลผล