ขั้นตอนทำ ถ้วยรางวัล 3D Rolls Royce

ขั้นตอนทำ ถ้วยรางวัล 3D Rolls Royce

บทความแสดงขั้นตอนการทำ Trophy ถ้วยรางวัลสั่งทำ หลังจากได้โจทย์ลูกค้าต้องให้รางวัล เกี่ยวของกับแบรนด์รถหรู Rolls Royce ทางลูกค้าอยากให้ออกมาดูแกรนด์ ทางเราเลือกใช้โลโก้ประจำรถยี่ห้อนี้ Spirit of ecstasy เริ่มจากศึกษาแบบร่าง 3มิติของ Flying Lady ขึ้นรูปเป็นแบบ 3มิติ มีการปรับแก้แบบนิดหน่อยเพิ่มฐานอีกนิดเพื่อให้หยิบจับง่ายถนัดมือ ขึ้นชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติระดับสูง มีเก็บสีเคลือบด้วยสีเงินเมทัลลิค สีทองเมทัลลิค

Plan คุย Concept งานกับลูกค้า

ดูจากความต้องการของลูกค้าก่อน ลูกค้ามี Concept ในใจโดยเป็นการให้รางวัลในงานที่เกี่ยวข้องกับรถโรลส์-รอยซ์ โดยเราคิดว่าสิ่งที่สื่อถึงรถ และเป็นภาพจำมากที่สุดคือโลโก้ Spirit of ecstasy ที่อยู่หน้ารถทุกคัน เราได้แบบร่างของตัวโลโก้มากจากใน internet โดยเป็นรูปร่าง Sketch 2มิติ

สัญลักษณ์ประจำรถ ที่ติดตาทุกคน Rolls Royce คือ Flying Lady เราเริ่มจากภาพ Sketch ที่คนหาใน Internet

 


สนใจทำถ้วยรางวัล ในโอกาสต่างๆ ติดต่อ Me Premium ที่เดียวจบ


3D Modeling ขึ้นแบบ 3มิติ ปรับแบบเข้ารูปมือ รูปทรงของถ้วย

เราขึ้นแบบ 3มิติด้วย Software Zbrush โปรแกรมยอดนิยมในการขึ้นรูปฟรีฟอร์มที่คนไทยรู้จักดีอยู่แล้ว โดย Step แรกขึ้นรูปมาแล้วลองนำมาพิมพ์ดูแล้วปรากฏว่าโมเดลสวย แต่จับดูแล้วไม่ถนัด เราจึงเพิ่มฐานขึ้นมาให้สูงขึ้น

โดยปกติ Trophy ควรจะมีความสูงรวมฐานประมาณ 22-30cm หลังจากปรับแบบแล้ว เราเพิ่มฐานให้สูงขึ้นโดยใช้ ฐาน Polygon เวลาทำสีแล้วจะสะท้อนแสง โดยแบบนี้สูงประมาณ 28-29cm จะจับพอดีมือ ตั้งโชว์พอดีสวยเลยใช้ตัวนี้ครับ

Software ที่ใช้ในการปั้นโมเดลคือ Zbrush ปั้นแล้วลองมีเทียบขนาดทีเ่หมาะสม ปรากฏว่าต้องแก้แบบนิดหน่อย โดยเพิ่มความสูงของฐานขึ้นเพื่อความสง่า ตั้งพอดีสวย ความสูงประมาณ 29.5cm อีกอย่างเพื่อให้จับได้พอดีมือ

3D Printing พิมพ์ขึ้นรูปงานโมเดล ด้วยเครื่อง SLA Printing

เราขึ้นรูปโมเดลของเราด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติระบบเรซิ่น SLA — Ray SLA600 โดยปรับชิ้นงานหมุนให้เอียงนิดหน่อย พิมพ์งาน 2ตัวขึ้นมาเป็น Prototype ก่อนผลิตตามจำนวนจริงที่ต้องการ การพิมพ์ใช้เวลาประมาณ 12ชม. ได้งานต้นแบบขึ้นมา โดยเราสามารถนำไปแกะ Support และเข้าขั้นตอน การตกแต่งหลังพิมพ์อีกรอบ

Support และชิ้นางนที่จริงที่ต้องพิมพ์ขึ้นมา สำหรับพิมพ์ด้วยเครื่อง Ray SLA600
งานพิมพ์ 3มิติที่ได้จากเครือ่ง 3D Printer Ray SLA600

Post Processing พิมพ์ขึ้นรูปงานโมเดล ด้วยเครื่อง SLA Printing

หลังจากขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติ เสร็จ ทำการล้าง เรซิ่น ด้วย Alcohol พ่นลม ตากให้แห้งแล้ว อบ UV เพื่อให้ชิ้นงานแข็งตัวจริงๆ Curing Process

  • แกะ Support
  • ล้างด้วย Alcohol
  • พ่นลม ให้แห้ง
  • ตามบนชั้นให้แห้ง
  • อบด้วยเครื่องอบ UV Curing Machine
  • นำมาขัดแต่ง ให้ผิวเรียบ
  • พ่นงานเก็บสี
  • ติดเข้ากับฐาน
แกะ Support ล้างด้วย Alcohol อบให้แห้งและขัดแต่งให้เรียบ
พ่นรองพื้น และ พ่นสีทับ 3-4รอบ