มาถึงตอนนี้หลายคนคงรู้จักเทคโนโลยี Motion Capture กันมาบ้างแล้ว เพราะหลายๆ สตูดิโอในบ้านเรานั้นหันมาใช้งานเทคโนโลยีชนิดนี้กันมายิ่งขึ้น เหตุผลก็เพราะว่า ด้วยต้นทุนที่มีราคาต่ำลง และมีเทคนิกการทำงานที่ไม่สับซ้อนมากนัก จนทำให้ประหยัดเวลาในการผลิตลงไปได้พอสมควร แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากเทคโนโลยี Motion Capture ที่เข้ามาช่วยในการทำงานแล้วนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือนักแสดงที่สวมบทบาทผ่าน Motion Capture เพราะจะมีความยากมากกว่าการแสดงปกติเป้นอย่างมา เพราะการแสดงปกตินั้น สิ่งแวดล้อม ชุดเครื่องแต่งการ และองค์ประกอบจะเป็นตัวช่วยในการแสดงนั้น สามารถเข้าถึงอารมณ์ได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับการแสดงผ่าน Motion Capture นั้น นักแสดงต้องมีความสามารถที่สูงมาก และต้องใช้จินตนาการ และสมาธิในการแสดงเป็นอย่างมาก เพราะองค์ประกอบโดยรอบนั้นไม่เหมือนการถ่ายทำในสถานที่จริงเลยแม้แต่น้อย วันนี้ Dfine จะพาไปรู้จักกับ 10 ภาพยนต์ระดับโลก ที่ถ่ายทอดการแสดงออกมาผ่าน Motion Capture ได้เป็นอย่างยอดเยี่ยม ซึ่งหลายๆ คนไม่ทราบด้วยซ้ำว่าการแสดงดังกล่าวนั้นเบื้องหลังแล้ว ใครเป็นผู้ที่ฝากฝีมือทางการแสดงไว้ ซึ่งจะมีใครบ้างนั้นเราไปพบกับพวกเขาได้เลย
10. Rosa Salazar in Alita: Battle Angel (2019)
ภาพยนต์เรื่องนี้อาจจะไม่ได้เป็นภาพยนต์ที่ทำรายได้มากนัก แต่ได้นักแสดงอย่าง Rosa Salazar มารับบทบาทดังกล่าวที่ต้องถ่ายทอดอารมณ์ของหุ่นโรบอร์ด ผู้ที่ความจำเสื่อม และต้องอาศัยการแสดงและถ่ายทอดออกมาทางสายตา ซึ่งเทคโนโลยี Motion Capture นั้นก็สามารถที่จะเก็บเอารายละเอียดการถ่ายทอดอารมณ์ ออกมาได้ครบทุกซีน ไม่ว่าซีนนั้นจะต้องใช้เทคนิกการถ่ายทำที่ซับซ้อนก็สามารถทำงานออกมาได้เป็นอย่างดี
9. Alan Tudyk in I, Robot (2004)
เรื่องราวของนักสืบคดีฆาตกรรม ที่อยู่คร่อมเส้นแบ่งระหว่างความเชื่อใจและความเข้าใจผิด ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการวิจารณ์ที่หลากหลายจากนักวิจารณ์ทำให้เกิดกระแสออกไปเป็นวงกว้าง เพราะเป็นภาพยนต์แนวหุ่นยนต์เรื่องแรกๆ ที่ออกสู่ตลาดภาพยนต์ แต่เมื่อเจาะลึกลงไปในการถ่ายทำนั้น ทีมงานสร้างได้นำเทคนิก Motion Capture เข้ามามีบทความกว่า 70% เพราะด้วยนักแสงนำนั้นต้องรับบทเป็นหุ่นยนต์ตลอดทั้งเรื่อง ทำให้การใส่ชุดหุ่นยนต์อาจจะเป็นปัญหาและเพิ่มความล่าช้าในการทำงาน การเลือกใช้ Motion Capture ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
8. Tye Sheridan in Ready Player One (2018)
Young Tye Sheridan เป็นนักแสดงหน้าใหม่ที่กำลังมาแรงมาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยผลงานการแสดงที่น่าจดจำอย่าง “The Tree of Life” (2011) จาก Terrence Malick และ “Mud” (2012) จาก Jeff Nichols ทำให้เขาขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำของภาพยนตร์ระดับบล็อคบัสเตอร์อย่างสตีเวน สปีลเบิร์ก เขายิ่งกว่าพาภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าเส้นชัย แต่เขาเคลื่อนพลในโลกของวิดีโอเกมให้ค้นหา “ไข่ทองคำ” เขาสามารถถ่ายทอดความรู้สึกส่วนตัวในการสนทนากับผู้ยิ่งใหญ่อย่าง Mark Rylance และ Ben Mendelsohn ผู้ชนะรางวัลออสการ์ แม้กระทั่งจัดการเรียกเสียงหัวเราะกับคู่หูอย่าง Lena Waithe และ Philip Zhao ตอนเด็ก
7. Jason Cope in District 9 (2009)
เราโชคดีแค่ไหนที่ได้เห็นภาพยนตร์ไซไฟอย่าง “District 9” ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ที่มี Jason Cope รับบทเป็น Christopher Johnson ผู้ที่ช่วยเหลือ Wikus ในการลุกขึ้นต่อสู้กับ Multinational United (MNU) ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกและรูปร่างที่เหมือนมนุษย์ ในขณะที่คำบรรยายให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความคิดของเขา Cope ได้แสดงบทพูดทั้งหมดให้กับมนุษย์ต่างดาว ความมุ่งมั่นของเขาที่ทำให้เขาได้พบกับ CJ ลูกชายต่างดาวของเขา และความเคารพซึ่งกันและกันกับ Wikus ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่นำ Motion Capture เข้ามาทำงาน และมากกว่าการแสดงคือการทำภาพกราฟฟิกที่ให้มีการเคลื่อนไหวมากกว่าการที่นักแสดงได้ถ่ายทอดออกมา
6. Andy Serkis in King Kong (2005)
Andy Serkis กับบทบาทคิงคองตัวยักษ์ที่นำกลับมาทำใหม่อีกครั้งตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งในภาคนี้นั้นเราจะได้เห็นความสัมพันธุ์ระหว่างมนุษย์ และคิงคอง ที่สามารถถ่ายทอดออกมาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ Andy Serkis ที่รับบทคิงคอง โดยความยากของการแสดงก็คือการเคลื่อนไหวของคิงคอง นั้นเป็นการเคลื่อนไหวของสัตว์ ซึ่งทำให้นักแสดงต้องการการเรียนรู้พฤติกรรมของสัตว์ และซักซ้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นรายละเอียดร่างกายของคิงคองที่มีขนจึงทำให้ทีมงานต้องให้ความสำคัญกับส่วนนี้เป็นอย่างมาก และด้วยความพยายามสร้างภาพยนต์เรื่องนี้ขึ้นมาอย่างวิจิตรบรรจง ทำให้ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือรางวัล วิชวลเอฟเฟกต์ยอดเยี่ยม จากเวทีออสก้าเลยทีเดียว
5. Andy Serkis in Rise of the Planet of the Apes (2011)
ตอกย้ำการแสดงระดับคุณภาพอีกครั้งของ Andy Serkis ในงาน “Rise” ที่ทำให้เขาต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ร้าย Serkis ทำให้ยกระดับการเคลื่อนไหวที่ทำให้เขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับ “คิงคอง” แทน โดยค้นหาจุดร่วมและความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างสัตว์ที่จัดชิดชิดกันมากที่สุดของเรา การแสดงออก เป็นการแลกเปลี่ยนครั้งสุดท้ายระหว่างเขากับอดีตเจ้าของ Will (James Franco) ซึ่งเขาได้รวบรวมรูปแบบและฉากแอ็คชั่นที่นำตัวลพครมาพบกันในภาพยนต์เรื่องนี้ ซึ่งให้ความสนุกตื่นเต้น และอารมณ์ที่ครบทุกรสชาต
4. Zoe Saldana in Avatar (2009)
รับประกันเลยว่าคงไม่มีใคร ไม่รู้จักภาพยนต์เรื่องนี้โดยที่ผู้กกับอัฉริยะอย่าง James Cameron เป็นผู้ที่สร้างสรรค์งานต่างๆ นี้ขึ้นมาซึ่งนอกจากจะใช้เทคโนโยีอย่าง Motion Capture มีช่วยในงานชิ้นสำคะัญนี้แล้ว ยังได้นักแสดงส่าวมากฝีมืออย่าง Zoe Saldana มาเป็นนักแสดงนำในเรื่องอีกด้วย ซึ่งความท้าทายของเรื่องนี้นอกจากจะต้องแสดงในสตูดิโอตลอดทั้งเรื่องแล้ว ผู้ที่ควบคุมงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิกต้องใช้ทักษะชั้นสูงอีกด้วย การแสดงสีหน้า ท่าทางต้องมีความสมจริงและพอดีในทุกจังหวะ ซึ่งการทำงานของ Motion Capture นั่นสามารถตอบโจทย์การทำงานได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกใจเลยว่า Avatar (2009) ถึงทำรายสูงสุดตลอดกาลในการเข้าฉายในปีนั้น
3. Toby Kebbell in Dawn of the Planet of the Apes (2014)
การกลับมาเป็นตัวร้ายของ Toby Kebbell ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายในชีวิตเขาอย่างมาก เพราะเป็นการลบภาพจำจากเรื่องอื่นๆ ที่หลายๆ คนเคยเห็นเค้ามา ซึ่งนอกจากจะสร้างความประหลาดใจให้ทุกๆ คนแล้ว เขายังสร้างเซอร์ไพร์ในการทำงานกับ Motion Capture อีกด้วย เราะเทคโนโลยีรูปแบบนี้ การทำงานนนั้นต้องอาศัยจินตนาการที่สูงมาก ซึ่งตัวเขาเองได้มีการทำการบ้านและเตรียมการออกมาเป็นอย่างดี ทั้งการแสดง สื่ออารมณ์ และร่วมบทกับท่านอื่นๆ
2. Josh Brolin in Avengers: Infinity War (2018)
จอช โบรลิน (“Milk”) ผู้ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสก้า ในไม่กี่ปีที่ผ่าน ซึ่งถือว่าเป็นนักแสดงในกลุ่มซุปเปอร์ฮีโร่ไม่กี่คนที่ไดเ้รับเกียรตินี้ เพราะด้วยการแสเงที่เป็นที่น่าจดจำของผู้ชม ในบทบาทของธานอส ตัวร้ายที่เป็นที่สุดของจักรวาล ในภาพยนต์เรื่อง Avenger ที่สร้างตำนานได้ไม่แพ้ Avata ทุกคนคอยติดตามมาจนถึงบทสรุปของภาพยนต์ และเค้าก็ไม่ได้ทำให้ทุกคนผิดหวัง สามารถถ่ายทอดผ่านจอเงินได้อย่างน่าภูมิ ซึ่งการที่จะนำชุดของธานาสมาให้เขาใส่นั้นก็คงเป็นไปไม่ได้เพราะ ตัวละครตัวนี้มีรูปร่างที่สูงใหญ่และน่าเกรงขาม เทคโนโลยี Motion Capture จึงเป็นกุญแจสำคัญของการถ่ายทำภาพยนต์เรื่องนี้ เพราะนอกจากการให้นักแสดง สามารถแสดงด้วยร่างกายของตัวเองได้แล้ว การ tracking กับตัวละครในคอมพิวเตอร์นั้นก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันครับ
1. Andy Serkis in The Lord of the Rings: The Two Towers (2002)
มาถึงภาพยนต์ที่ปลุกกระแสการถ่ายทำด้วยระบบ Motion Capture นั้นก็คือ The Lord of the Rings: The Two Towers (2002) ซึ่งในภาคนี้ได้มีการเปิดตัวตัวละครที่สำคัญอีก 1 ตัวนั้นก็คือ Gollum ที่มาช่วยสร้างสีาันให้ภาพยนต์ในภาคนี้ได่อย่างน่าสนใจ และเป็นที่พูดถึงจนทุกวันนี้ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังการถ่ายทำนั้น ไม่ได้นำคนที่มีลัษณะผอมมาแต่งเอ็ฟเฟคที่ร่างกายแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้นักแสดงที่มีรูปร่งปกติมาติดตั้งเทคโนโลยี Motion Capture และถ่ายทำแบบการแสดงปกติ และยังเป็นการเปิดตัว Andy Serkis ที่เป็นครั้งแรกของเขาที่รับบทบาทผ่าน Motion Capture