จากครั้งที่แล้วเราได้มีสร้างแบบจำลองของเจดีย์วัดภูเขาทอง ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผู้ออกแบบไฟล์นั้นได้สร้างไฟล์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากข้อมูล Piont Cloud ซึ่งได้จากการสแกนด้วยเครื่อง Salm 100 ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเร็วและประสิทธิภาพที่ล้นเกินราคา จึงทำให้ได้องค์เจดีย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งสัดส่วน ทั้งรายละเอียด และในวันนี้ Dfine Digital Reality จะขอสร้างความสวยงามอีกครั้งกับงานออกแบบโมเดล องค์พระปรางค์วัดอรุณที่เราเคยเดินทางไปสแกนแล้วเมื่อครั้งก่อน ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวและนักเดินทางจากทั่วทุกมุมโลก ต่างเดินทางมาชมความสวยงามของวัดกันตลอดทั้งปี โดยวัดอรุณ เป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า ” วัดมะกอก ” แล้วเปลี่ยนมาเป็น “ วัดแจ้ง ” ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และต่อมาสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานชื่อใหม่ว่า “ วัดอรุณราชธาราม ” และต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “ วัดอรุณราชวราราม ” มีชื่อเต็มว่า “ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ” โดยวัดอรุณมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร อยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังเดิม และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ครั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี (ขอบคุณข้อมูลจาก www.trip.com)
ต้องบอกเลยว่าถ้ามองจากภาพหรือ การเดินทางไปสถานที่จริงแล้วนั้น จะเห็นว่ารายละเอียดขององค์พระปรางค์นั้นมีอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งลำดับขั้นขององค์พระปรางค์ รายละเอียดการตกแต่ง รายละเอียดช่องทางเดินหรือบันได และยิ่งไปกว่านั้นคือองค์พระปรางค์ในปัจจุบันนั้น มีความเอียงเพิ่มมากขึ้นจนเห็นได้ชัด โดยปัจจุบันทางกรมศิลปกรได้มีการออกจดหมายแจ้งถึงการทรุดตัวของฐานล่าง จนทำให้องค์พระปรางค์เอียงอย่างเห็นได้ชัด และด้วยเหตุผลตรงจุดนี้เอง Dfine จึงมองเห็นแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานของชาติแห่งนี้ไว้ เราจึงได้นำ Slam 100 ไปสแกนและลองคัดลองโครงสร้างออกมาเพื่อเป็นการศึกษาและ เป็นข้อมูลสำคัญในการบูรณะ โดยความยากง่ายของการสร้างงานพระปรางค์วัดอรุณจะเป็นอย่างไรนั้นเราไปตจิดตามกันเลยครับ
เริ่มต้นจากการทำเส้นกันเลยครับ ในการวาดเส้นขององค์พระปรางค์นั้นเราต้องปรับมุมมองของโปรแกรมไปที่มุม TOP นะครับ เพราะเป็นมุมที่เห็นกรอบขององค์พระปรางค์ครงทุกด้าน โดยในขั้นตอนนี้สิ่งที่ยากที่สุดคือการทำให้ทุกด้านมีความเท่ากันเพราะต้องบอกก่อนเลยว่าในอดีตนั้นไม่ได้มีเครื่องมือวัดหรือคาดคะเนระยะใดๆ ทั้งสิ้น คนโบราณอาจจะใช้สัดส่วนของลำตัวเช่นแน ศอก หรือคืบมือในการทำงาน ซึ่งแน่นอนทำให้สัดส่วนต่างๆ นั้นไม่สมมาตรกัน แต่อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างที่สูงใหญ่ขนาดนี้และไม่มีเครื่องมืออะไรช่วยในการสร้างก็ถือว่ายอดเยี่ยมมากแล้วครับ
ต่อมาเป็นการสร้างงานในส่วนของโครงสร้างกันบ้างครับ ซึ่งแต่ละขั้นขององค์พระปรางค์นั้นเราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะ Slam100 นั้นสามารถเก็บรายละเอียดได้อย่างชัดเจน ทำให้การทำงานในส่วนนี้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ช่วงด้านบนขององค์พระปรางค์ยังมีรายละเอียดที่ค่อนข้างจะเยอะเช่นเดียวกับด้านล่างเราจึงต้องทำการบ้านเยอะพอสมควรเลยครับ
และสุดท้ายเป็นการสร้างบันไดขององค์พระปรางค์ ที่หากเราสังเกตดีๆ เราจะเห็นว่าในส่วนของบันได แต่ละช่วงนั้นไม่ได้ต่อเนื่องกัน มีลำดับที่แยกออกจากกันอย่างเห็นได้ชัด ซึงเราต้องมีการเทียบระยะในแต่ละขั้นให้มีความใกล้เคียงมากที่สุด
จากการทำงานนั้น ผู้สร้างแจ้งให้เราทราบว่าการ Reverse Engineer ที่ทำขึ้นมานี้เป็นการคัดลองแบบคร่าวๆ ที่ดึงจุดเด่นสำคัญขององค์พระปรางค์ออกมาเท่านั้น เพราะด้วยการเทียบสเกลแบบ 1:1 นั้นทำให้รายละเอียดบางอย่างที่มีความเล็กมากๆ นั้นหายไปพอสมควร แต่เพียงเท่านี้เราก็สามารถนำไปต่อยอดงานได้หลายอย่างมากๆ เช่นการคำนวนโครงสร้างเพื่องานบูรณะ งานด้านการศึกษา งานด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้น