งานต่อยอดโมเดลจาก Point Cloud

งานต่อยอดโมเดลจาก Point Cloud

สวัสดีครับในครั้งที่แล้วเราพอไปชมวิธีการ การสร้างโมเดลจากจุด Piont Cloud ที่ได้จากการสแกนด้วยเครื่อง Slam 100 ที่ให้ผลที่ดีมาก (ดูรีวิวได้ที่นี่) และเมื่อนำมาต่อยอดในการทำโมเดลนั้น ปรากฎว่าสามารถสร้างโมเดลของสิ่งก่อสร้างออกมาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการต่อยอดเท่านั้น ในครั้งนี้ Dfine จะพาทุกคนมาระดมความคิดในการต่อยอดผลงานกันซึ่งแจ้งไว้ก่อนเลยนะครับ ว่าใครบทความนี้ จะเป็นเพียงแนวทางและตัวอย่างเท่านั้น ถ้าากว่าใครมีไอเดียที่น่าสนใจหรือมีไอเดียในการนำไปรวมกับสิ่งอื่นๆ ได้ Dfine พร้อมยินดีเป็สื่อการในการนำเสนอครับ อย่างนี้เราไปดูกันเลยดีกว่าครับว่าจะสวยงามแค่ไหน

ผลงานต่อยอดการทำโมเดล

1. Print 3D Model 

แน่นอนครับ ก่อนที่จะคิดเป็นอย่างอื่นนั้นเราควรนำโมเดลที่เราทำนั้นมาทำการทดลองพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติกันก่อนดีกว่า ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถเป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ได้ในตัวเลย เพราะงานสำเร็จที่เราพิมพ์ออกมานั้นสามารถดูได้ว่า งานของเรานั้นมีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน ภาพรวมที่ออกมามีสัดส่วนที่สมส่วนหรือไม่ หรือแม้กระทั่ง เราสามารถที่ตรวจสอบส่วนต่างๆ ของโมเดลว่ามีส่วนใดที่บางเกินไปหรือไม่ โดยโมเดลนั้นสามารถพิพม์ได้ทั้งเครื่องพิมพ์แบบเส้นพลาสติก เครื่องพิมพ์ระบบเรซิ่น หรือหาเราสามารถที่จะลงสีลงไปในโมเดลได้เราก็สามารถใช้เครื่องพิมพ์โมเดลแบบสีได้เช่นเดียวกัน

ขอบคุณภาพจาก Print3DD

2. Laser Crystal 3D 

ในส่วนนี้อาจจะดูเป็นของขวัญ ของที่ระลึกกันสักหน่อย แต่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่บ้าง แต่จะมีสักกี่คนครับที่ทราบว่าวิธีการทำนั้น มีวิธีการทำกันอย่างไร เดียว Dfine จะมาไขข้อข้องใจให้จนหมดเปลือกเลย ซึ่งในการทำโมเดลนั้นเราคงเห็นกันตั้งแต่ Ep.1 แล้วนะครับ และในส่วนการทำลายในตัวคริสตัลนั้น เเราจะใช้เครื่อง Laser Crystal ในการทำครับ ซึ่งเจ้าเครื่องนี้มีคุณสมบัติที่สามารถเลเซอร์ทะลุลงไปในเนื้อคริสตัลได้นั่นเอง

โดย Laser Crystal เครื่องนี้สามารถให้ความละเอียดที่สูงมากสามารถเลเซอร์ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องขอแจ้งก่อนนะครับว่าเจ้าเครื่องนี้รูปแบบการทำงานของมันคือการสร้างตำหนิลงบนเนื้อคริสตัลเท่านั้น ยังไม่สามารถที่จะลงสีเข้าไปได้

3. Prototype

ขอขอบคุณภาพจาก www.google.co.th

ในข้อนี้ถือว่าเป็นตัวเริ่มต้นของ วงการอุตสาหกรรมการผลิตเลยก็ว่าได้ครับ เพราะคงไม่มีใครที่จะสามารถออกแบบมาแล้วพอดีได้ในคั้งเดียว หรือถ้ามีก็คงน้อยคนมากๆ เลย ซึ่งในส่วนของต้นแบบที่เราเรียกกันว่า Prototype นั้น เป็นหนึ่งในขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งการสร้างตัวทดสอบจากการสแกนระบบ Lidar Scan ก็เช่นกันย่อมต้องมีการปรับแก้อยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญเช่นกัน

4. Mold ต้นแบบหล่องาน

ขอขอบคุณภาพจาก www.google.co.th

ถ้าอ่านถึงข้อนี้เราคงต้องเข้าสู่โหมดอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว เพราะในส่วนนี้เป็นตัวต่อจากการทำ Prototype แล้วมีการขึ้นรูปหล่อ ไม่ว่จะเป็นวัสดุอะไรก็ตามทั้ง โมที่ทำด้วยยาง ทำด้วยดินหรือทำด้วยโลหะ ก็ล้วนแล้วแต่ออกมาจากโมเดลจริงที่ออกจากกการสร้างโมเดลทั้งสิ้น

5. งานเกมส์ และอนิเมชั่น

ในข้อนี้อาจจะข้ามสายงานกันสักนิดนึงนะคับ เหล่าบรรดาวิศวกรหรือสถาปนิกอาจจะสับสนได้ แต่เราจะพยายามอธิบายให้เห็นภาพกันทุกคนครับ งานอนเมชั่นนั้น ต้องบอกก่อนว่าเป็นงานที่เราไม่สามารถจับต้องได้เหมือนงาน Prototype อื่นๆ ที่มีการพิมพ์ออกมาหรือหล่อออกมาเป็นรูปธรรม แต่งานอนิเมชั่นนั้นเป็นศาสตร์ที่เราต้องทำให้คอมพิวเตอร์และ Export ออกมาเป็นหนัง การ์ตูน เกสม์ต่างๆ ซึ่งไฟล์ที่ใช้นั้นก็เป็นไฟล์ในรูปแบบของ .stl .obj หรือไฟล์อื่นๆ ก็ที่โปรแกรมรองรับ

โดยหลังจากที่เราสร้างงานออกมาแล้วนั้นเป็น Animator สามารถนำไปจัดวางในตำแหน่งต่างๆ ฉากต่างๆ ได้เลย อย่างไรก็ดีความยากของงานนั้นก็คงต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญของศิลปินเป็นหลังเช่นกัน และยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นงานที่ต้องเน้นความละเอียดก็ยิ่งต้องอาศัยความวิจิตรเข้าไปพอสมควรเลย