สำหรับนักสร้างสรรค์หลายๆ ท่านที่กำลังมองหาตัวช่วย ที่จะเข้ามาเป็นเหมือนแรงสนับสนุนและผลักดันงานของเราให้ออกมาอย่างมีคุณภาพนั้น หลายคนคงรู้จักกับ Rokoko Smartsuit ในหลายๆ คอนเท้นที่เรานำเสนอออกไปแล้ว วันนี้ Dfine จะมาสอนการใช้งาน Rokoko Smartsuit Pro2 ในเบื้องต้นกันครับ เพราะเผื่อว่าหลายคนกำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจอยู่ในขณะนี้ โดยในครั้งนี้เราจะบอกถึงรูปแบบการใช้งานที่หลายคนบอกว่า “น่าจะใช้ยากน่าดู” ว่าจริงๆ แล้วชุด Rokoko Smartsuit Pro2 นั้นใช้งานไม่ยากอย่างที่คิด และยังสามารถต่อยอดออกไปในโปรแกรมอื่นๆ ได้หลากหลาย
เริ่มใช้งานครั้งแรก Rokoko Smartsuit Pro II
1.รสวมชุด Rokoko Smartsuit Pro2 และปรับระดับสายรัดให้พอดีกับผู้สวมใส่
2. เชื่อมต่อแบตเตอรี่สำรองหรือ Powerbank โดยสาย USB นั้นจะอยู่ในกระเป๋าด้านหน้าของชุด Rokoko Smartsuit Pro2
3. เชื่อมต่อสายดาต้าผ่านสาย USB TypeC เข้ากับคอมพิวเตอร์ โดย Hub นั้นจะอยู่ทางด้านหลังของชุด และตรวจสอบว่าไฟสถานะติดอยู่หรือไม่
4. เปิดโปรแกรม Rokoko Studio โดยโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก www.Rokoko.com
5. กำหนดโปรไฟล์ขอนักแสดง โดยที่กดปุ่มเครื่องหมายบวกและจะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาตามภาพ ซึ่งจะสามารถกำหนดได้ทั้งส่วนสูง สัดส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ขนาดที่ใกล้เคียงกับผู้แสดงมากที่สุด
6. เชื่อมต่อชุดกับคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ Wifi โดยคลิกที่ icon รูปชุด Rokoko ที่อยู่มุมบนขวามือ จากนั้นจะปรากฎหน้าต่างสำหรับตั้งค่าการเชื่อมต่อขึ้นมา ให้เราเลือก wifi ที่ต้องการใช้งาน จากนั้นใส่รหัส wifi และใส่ค่า IP ของระบบอินเทอร์เน็ตและคลิก Settings applied
7. การ Calibrate ก่อนใช้งาน ให้คลิกที่ปุ่ม Calibrate ด้านบนของจอแสดงผม จากนั้นยืนตัวตรงเพื่อให้เซ็นเซอร์ทำการบันทึกจุดเริ่มต้น จาอนั้นรอประมาณ 3-5 วินาทีชุดก็พร้อมที่จะใช้งาน
8. การบันทึกการแสดง โดยเราสามารถบันทึการแสดงโดยการกดที่ปุ่ม record สีแดงตรงกลางจอภาพ ก็สามารถบันทึกการแสดงได้แล้ว ซึ่งไฟลที่ได้ก็จะมีความหลากหลายทั้ง .FBX .OBJ .BVH .CSV .C3D ที่สามารถนำไปใช้ยังโปรแกรมอื่นๆ ได้
จากที่เล่ามานี่จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการใช้งานชุด Rokoko Smartsuit Pro2 ไม่ได้มีความยุ่งยากอย่างที่เข้าใจกัน ซึ่งความสามารถของ Rokoko Smartsuit Pro2 นั้นนอกจากจะมีระบบที่สามารถบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกายได้เเล้ว ยังสามารถ Streem Live ได้ยังโปรแกรมที่เหล่านักสร้างสรรค์ใช้ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Cinema4D, MotionBuilder, Unreal, Unity, Maya, Blender เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมานี้ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และยังมีความสามารถในการบันทึกการแสดงแบบหลายๆ คนในครั้งเดียวได้อีกด้วย