สแกนเรือหลวงแม่กลอง l Space o the Week Ep.24

สแกนเรือหลวงแม่กลอง l Space o the Week Ep.24

เอาล่ะครับ….หลายคงอ่านหัวข้อและรู้กันแล้วว่า Space of the Week  สัปดาห์นี้เราจะไปสแกนกันที่ไหน  แต่ว่าพิเศษของในครั้งนี้ก็คือปกติเราจะสแกนเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเป็นสิ่วที่อยู่ในธรรมชาติใช่มั้ยครับ และในรอบนี้เราจะไปสแกนสิ่งที่เป็นวัตถุกันบ้าง ซึ่งเรียกว่าเป็นวัตถุได้มั้ย ก็คงไม่เชิงเพราะขนาดของมันนั้นมีขนาดที่ใหญ่มาก มากจนถ้าเดินรอบตัวเรือกปกติก็ใช้เวลาเกือบ 10 นาทีแล้ว เพราะฉะนั้นความท้าทายที่เกิดขึ้นก็คือ เป็นทั้งวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่เราไม่เคยเลเซอร์มาก่อน ความซับซ้อนของทางเดิน และยังมีทั้งกระแสลมแรงและแดดที่ร้อนจัดอีกด้วย

ขอขอบคุณภาพจาก www.google.co.th

 

ก่อนไปเริ่มสแกนกันเราไปรู้จัดเรือหลวงแม่กลองกันก่อนนะครับ เรือหลวงแม่กลอง หรือ พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงแม่กลองในปัจจุบัน : เป็นเรือรบประเภทเรือสลุป ต่อที่อู่เรืออุระงะ เมืองโยะโกะซุกะ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2479 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2480 และปลดระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2539 รวมระยะเวลาประจำการ 59 ปี นับว่าเป็นเรือรบที่ประจำการยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และเป็นเรือรบที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก ได้ผ่านการใช้งานในหน้าที่สำคัญหลายครั้ง เช่น เคยใช้เป็นเรือพระที่นั่งในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา และใช้เป็นเรือฝึกของทหารเรือ ปัจจุบันกองทัพเรือได้ดำเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบไทยด้วย และบริเวณใกล้เคียงได้มีอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือที่จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทหารเรือ  อาทิ กลุ่มปืนและอาวุธในสมัยรัชกาลที่ 5 และกลุ่มอาวุธของเรือหลวงพระร่วงและการจัดหาเรือหลวงพระร่วงของรัชกาลที่ 6 รวมทั้งยุทโธปกรณ์อื่นๆ และกลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้น (http://www.thainavyland.com/maeklong)

 

ในการสแกนนั้นเราใช้ Slam 100 และเริ่มต้นจากทางด้านหน้าของเรือกันก่อนเลยครับ จากนั้นจึงเดินรอบๆ ตัวเรือโดยขั้นตอนนี้เราจะต้องเก็บรายละเอียดหลังของตัวเรืองให้เรียบร้อยเสียก่อนจากนั้นจึงต่อด้วย การเดินขึ้นบันไดข้างเรือเพื่อขึ้นไปยังตัวเรือ และเดินเก็บด้านหน้าและหลังของเรือให้เรียบร้อย แต่ในขั้นตอนต่อไปเราจะเริ่มเข้าไปในตัวเรือกัน ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะด้วยความแคบของทางเดินและความชันของบันได ทำให้เราเป็นห่วงในการสแกนขึ้นมาเล็กน้อย แต่เครื่องก็ยังสามารถสแกนได้อย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่ทำให้ทีมงานสับสนมากที่สุดก็คือแผนผังของตัวเรือที่ซับซ้อน จนทีมงานหาทางออกจากเรือไม่เจอเลยทีเดียว และสุดท้ายเราได้ไปสแกนในส่วนของดาดฟ้าของเรือเพื่อเป็นการเก็บพื้นที่ด้านล่างเป็นอันเสร็จสมบูรณ์

ในการประมวลผลนั้นทีมงานแอบบกังวลอยู่ไม่น้อยว่าจะสามารถนำไฟล์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ เพราะด้วยทางเดินที่ทั้งแคบและจำกัด ทำให้งานอาจจะเกิดข้อผดพลาดได้ แต่ที่ออกมาก็คือไฟล์มีความสมบูรณ์มาก เห็นรายละเอียดทั้งหมด ทั้งรูปทรงของเรือ อุปกรณ์บนเรือทั้งเรือชูชีพ ปืน ทางเดินก็สามารถเก็บได้เป็นอย่างดี ทีนี้เราไปดูกันดีกว่าครับผลที่ได้ออกมานั้นเป็นอย่างไรบ้าง

จุดเด่นที่น่าสนใจ

  • การสแกนในสภาพลมแรงและแดดจัดสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
  • ความชันของบันไดและพื้นที่แคบไม่เป็นข้อจำกัดในการทำงาน
  • ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีในการเก็บวัตถุขนาดใหญ่
  • น้ำหนักและรูปทรงกระทัดรัด เคลื่อนไหวสะดวก
  • ยิงเลเซอร์ได้มากถึง 360,000จุด/วินาที
  • แสดงผลแบบ Real time บนสมาร์ทโฟน

ข้อสังเกต

  • ไม่มีตัวครอบโมดูลที่ยิงเลเซอร์อาจจะต้องระมัดระวังในการใช้งาน
  • ใช้พื้นที่ในการบันทึกไฟล์มาก อาจจะต้องมีการเตรียม SD card ที่มีความจุเพียงพอ
  • ในการเดินสแกนหากไม่มีตัว backpack ควรมีคนเปลี่ยนระหว่างทาง