ใน EP.6 นี้เราไปสแกนกันที่ สะพานพุทธครับ โครงสร้างสะพานเป็นเหล็ก รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น Landmark แห่งหนึ่งในกรุงเทพ ที่ควรแก่การอนุรักษ์ เครื่องสแกนที่ใช้ SLAM100
การสแกนสามารถสร้างเป็น Patterm มาตรฐานได้ดังนี้ ก่อนสแกน — วางแผนศึกษาพื้นที่ต้องการสแกน อาจจะจาก Google Maps ขณะสแกน — เดินให้ครบ Loop เริ่มและจบด้วยจุดเดียวกัน เดินเป็นวงกี่ Loop ก็ได้แต่ขอให้เริ่มกับจบจุดเดียวกัน หลังสแกน — นำไฟล์ที่ได้มาประมวลด้วย PC จะได้ Point Cloud ที่ละเอียดแม่นยำมากขึ้น
Pre-Scan วางแผนงานสแกน
เราอยากเก็บ รายละเอียดของสะพานให้ได้มากที่สุด (แต่ไม่ได้ใช้เรือข้ามฝากเพื่อเก็บรายละเอียดใต้สะพาน) โดยเริ่มจากวัดประยุรวงศาวาส เดินข้ามสะพานพุทธ ไปยังฝั่งพระนคร และ ลงบันไดเพื่อเก็บรายละเอียดในส่วนใต้สะพานและตอหม้อ เท่าที่จะทำได้ ก่อนจะขึ้นบันได้อีกฝัง เพื่อข้ามสะพานย้อนกับมาฝั่งธน และเดิน เรียบถนนกลับไปยังวัดประยุรวงศาวาส เพื่อให้จบ Loop
Scan เดินรวดเดียวจบ ด้วย SLAM100
เราเดินตามแผนที่ตั้งเอาไว้ โดยใช้เวลาประมาณ 25นาที เดินประมาณ 2กม.+ วันนี้รถค่อนข้างมาก ถ้าจะให้ดีควรมาตอนเข้าให้ไม่มีรถ เพื่อลดปัญหา Noise รบกวน
Post-Scan นำข้อมูลการประมวลผลด้วย PC
เราเอาข้อมูลที่ได้จากการสแกนมาประมวลผลอีกทีด้วยคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาประมาณ 30นาทีได้ผลลัพธ์ออกมา
Result ผลลัพธ์ที่ได้
- เครื่องสแกนที่ใช้ SLAM100
- งานสแกนที่ได้ มีจำนวน Point Cloud 200ล้านจุด
- ระยะทางเดินจากวัดประยูร ข้ามฝั่งแม่น้ำ กลับรวมประมาณ 2กม.
- ใช้เวลาในการเดินสแกน 25นาที
- ไฟล์ 3มิติที่ได้มาสามารถนำไปทำต่อ ได้อีกมากมาย เช่น Revit, Geomagic, Agisoft Metashape, Unreal, SketchUp เป็นต้
- ถ้าจะใช้แค่วัดขนาดสามารถทำได้ที่ Software ที่ให้มากับเครื่องเลย
- ตย. วัดความสูงของยอดเจดีย์วัดประยูรได้ 58.072502เมตร