Space of the Week EP.7 : สแกน 3มิติวัดอรุณ ใน 25นาที ด้วยเครื่อง 3D Lidar Scan SLAM100

Space of the Week EP.7 : สแกน 3มิติวัดอรุณ ใน 25นาที ด้วยเครื่อง 3D Lidar Scan SLAM100

ใน EP.7 เราใช้เครื่องสแกน SLAM100 จากที่เคยใช้เครื่อง Matterport Pro3 มาใน EP.3 เราไปสแกนที่วัดอรุณกันมารอบหนึ่งแล้ว (ใช้ Matterport ใช้เวลาในการสแกน 5ชม. ใช้ SLAM100 ใช้เวลาในการสแกน 25นาที) เราไปวัดอรุณช่วงเย็นแล้วและมีฝนตกพร่ำพรา ที่สำคัญมีนักท่องเที่ยวเยอะมาก โดยมากเป็นทัวร์จีน ใส่ชุดไทยสวยงามยืนถ่ายเยอะแยะมากมากมาย ซึ่งจะสแกนยากกว่าปรกติเราไปดูกันว่าเราสแกนได้หรือเปล่า

ขั้นตอนการสแกน

การสแกนสามารถสร้างเป็น Patterm มาตรฐานได้ดังนี้ ก่อนสแกน — วางแผนศึกษาพื้นที่ต้องการสแกน อาจจะจาก Google Maps  ขณะสแกน — เดินให้ครบ Loop เริ่มและจบด้วยจุดเดียวกัน เดินเป็นวงกี่ Loop ก็ได้แต่ขอให้เริ่มกับจบจุดเดียวกัน หลังสแกน — นำไฟล์ที่ได้มาประมวลด้วย PC จะได้ Point Cloud ที่ละเอียดแม่นยำมากขึ้น แต่มาคราวนี้จะแปลกว่าทุกครั้งเพราะว่า วางแผนไม่ได้เนื่องจากนักท่องเที่ยวเยอะมาก และ ฝนตก

Pre-Scan วางแผนงานสแกน

จุดมุ่งหมายของการสแกนครั้งนี้ต้องการเก็บพระปรางค์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยวางแผนไว้หลวมๆ โดยการเดินวนรอบฐาน 1รอบ ขึ้นไปวนด้านบนอีกหนึ่งรอบ และเก็บส่วนอาคารหน้าพระปรางค์ ให้ได้มากที่สุด

สถานที่คนเยอะ เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกดีมากครับ อาจจะลำบากเรื่องสภาพอากาศที่มีฝนตกนิดหน่อย

Scan เดินรวดเดียวจบ ด้วย SLAM100

เราเดินรวดเดียว 25นาที พยายามเลี่ยงนักท่องเที่ยวให้มากที่สุด ขณะเดินมีฝนตกด้วย

เริ่มเดินสแกนกันเลย ถือสองมือท่าเดิม ถ้าใครเคยสแกนแบบค่าตั้งกล้องมาก่อนจะรู้ว่าสแกนพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณนี้ต้องทำ 6ชม. ขึ้นไป แต่การถือสแกนจะเร็วกว่านั้น แต่ต้องคิดภาพในหัวตามว่า สแกนได้ครบถ้วนหรือยัง
สแกนมาเดิบอาคารด้านหน้าพระปรางค์ทั้ง 2ด้วย (จริงๆ สแกนแยกก็ได้ครับ จะสามารถจัดการไฟล์ได้ดีเหมือนกัน ไม่งั้นสแกนครบทุกส่วนอาจจะเกินพลังงานเครื่องมากเกินไป)

Post-Scan นำข้อมูลการประมวลผลด้วย PC

เราเอาข้อมูลที่ได้จากการสแกนมาประมวลผลอีกทีด้วยคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาประมาณ 45นาทีได้ผลลัพธ์ออกมาตามรูปที่โชว์ด้านล่าง

ไฟล์ 3มิติที่ได้จากการสแกน สามารถนำ Point Cloud นี้ไปใช้ในการวัดค่าระยะ พื้นผิว ปริมาตร หรือ แม้กระทั้งไปสร้างเป็น โมเดล 3D ต่อ
ภาพตัดขวาง Cross Section จากอีกมุมหนึ่ง
ให้เครื่องสแกน Point Cloud ที่เป็นสีได้เช่นกัน RBG
ขณะเดินสแกนไปเครื่องจะถ่ายภาพ Panorama ได้ด้วยโดยมี interval 1sec ในการสแกนครั้งนี้ได้ภาพทั้งหมด่ประมาณ 3700ภาพ
Point Cloud แสดง elevation Heat Map ย้อมสีตามความสูงของสถานที่
ภาพหลายๆมุม

Result ผลลัพธ์ที่ได้

  • เครื่องสแกนที่ใช้ SLAM100
  • งานสแกนที่ได้ มีจำนวน Point Cloud 200ล้านจุด
  • ใช้เวลาในการเดินสแกน 25นาที
  • ไฟล์ 3มิติที่ได้มาสามารถนำไปทำต่อ ได้อีกมากมาย เช่น Revit, Geomagic, Agisoft Metashape, Unreal, SketchUp เป็นต้
  • ถ้าจะใช้แค่วัดขนาดสามารถทำได้ที่ Software ที่ให้มากับเครื่องเลย
  • สามารถเอาทำงานต่อได้หลากหลาย เช่นงานอนุรักษ์ การบำรุงรักษา งานวิเคราะห์โครงสร้าง งานสร้างโมเดล 3มิติ และ VR, AR, XR