เครื่องมือสำคัญกับงานวิศวกร ในยุคเทคโนโลยี

เครื่องมือสำคัญกับงานวิศวกร ในยุคเทคโนโลยี
  1. เครื่องมือวัดระยะ
  2. เครื่องวัดระดับเสียง
  3. เครื่องวัดความเร็วลม
  4. เครื่องสแกนสถานที่ 
  5. เครื่องเช็คกำลังไฟ
  6. เครื่องสแกนโมเดล
  7. เครื่องพิมพ์ 3มิติ

ตอนนี้เราก้าว(มา)ไกลมาจนถึงยุคเทคโนโลยีกันเต็มรูปแบบแล้ว งานในทุกด้านก็หันมาใช้เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการทำงานกันแล้ว ทั้งงานด้านวิทยาศาสตร์ งานด้านบริการ งานด้านการแพทย์ รวมไปถึงงานด้านวิศวกร ที่เด็กๆ หลายคนต่างฝันที่อยากเป็นกันให้ได้ตอนโตขึ้น แต่งานด้านนี้ต้องยอมรับเลยว่า เก่งอย่างเดียวอาจจะตกงานได้ในยุคนี้ เราต้องศึกษาและก้าวทันโลกให้เร็วขึ้นตามกันไปด้วย และมากไปกว่านั้นเรื่องเวลาเองก็สำคัญไม่น้อย เพราะฉะนั้นเครื่องทุ้นแรงก็ต้องมีติดตัวกันทุกคน วันนี้ Dfine จะพาทุกคนมาดูกันว่า เครื่องมือคู่ใจของเหล่าวิศวกรที่ต้องมีติดตัวในวันเวลาที่ต้องออกไปทำงานนั้น มีอะไรกันบ้างเราไปดูกันเลย

1. เครื่องมือวัดระยะ

ขอบคุณภาพจาก : www.google.co.th

แน่นอนว่าเรื่องขนาดและสัดส่วนนั้นถือว่าต้องเป็นความรู้พื้นฐานของเหล่านักวิศวกรอยู่แล้ว เพราะในการวางแผนการทำงานนั้น การสำรวจสถานที่จริงนั้นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นหรือขั้นตอนแรกในการทำงานอย่างแน่นอน และสิ่งที่ต้องนำไปด้วยก็คือเครื่องมือวัดนั้นเอง บางคนอาจจะใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า “ตลับเมตร” อยู่ใช่รึป่าว ซึ่งมองไปไหนก็จะเห็นวิศวกรเหน็บไว้ข้างเอวอยู่เกือบทุกคนเลย

ขอบคุณภาพจาก : www.google.co.th

แต่สำหรับบางคนก็หันมาพึ่งความสะดวกสบายขึ้นมาอีกนิดหน่อยคือ ใช้เลเซอร์ในการวัดพื้นที่ ซึ่งให้ทั้งความสะดวก ความแม่นยำ ค่าการคลาดเคลื่อนที่น้อยมาก และใช้คนในการทำงานที่น้อยหรือเพียงคนเดียวก็สามารถทำงานได้ และในบางยี่ห้อก็พกฟังก์ชั่นสุดล้ำที่ช่วยให้งานที่เราทำนั้นง่ายขึ้นได้อีกเยอะ

2. เครื่องวัดระดับเสียง

แน่นอนว่าการทำงานในส่วนของวิศวกรรมนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือมลภาวะในการทำงาน ซึ่งหนึ่งในมลภาวะที่เหลียกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือมลภาวะทางเสียงนั้นเอง ซึ่งในบางประเทศนั้นก็เลือกที่จะกำหนดเวลาในการปฏิบัติงาน บางประเทศเลือกวิธีการการประกอบแยกชิ้นในการลดขั้นตอนการใช้เสียงให้เหลือน้อยที่สุด แต่ไม่ว่าจะควบคุมหรือออกนโยบายมาในรูปแบบใดก็ตาม ในการควบคุมงานนั้นจะต้องมีการควบคุมระดับของเสียงให้อยู่ในระดีบที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เครื่องวัดระดับความดังของเสียงจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในเวลาทำงาน นั่นเอง

ขอบคุณภาพจาก : www.google.co.th

3. เครื่องวัดความเร็วลม

อีกหนึ่งมลภาวะที่ต้องในความสำคัญ และอยู่คู่กับงานวิศวะกรรมนั้นก็คือเรื่องฝุ่นละอองที่กำลังรณรงค์อยู่ในขณะนี้ ซึ่งปัยจัยหลักๆ ในการแพร่กระจายของปัญหาเรื่องฝุ่นก็คือ “ลม” นั่นเอง ซึ่งแนวทางในการป้องกันการฝุ้งกระจายนั่นเราต้อมเริ่มจากการรู้ทิศทาง ความชื้น และความเร็วของลมก่อนเป็นอันดับแรก หลายๆ ครั้งเวลาเราผ่านในส่วนของเขตก่อสร้างที่จะมีกังหันหรือใบพัดติดไว้ตามเขตก่อสร้างนั้น ให้ทราบไว้เลยว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างนั้นใส่ใจเรื่องมาตราฐานและตั้งใจในการควบคุมปริมาณฝุ่นอย่างแน่นอน

ขอบคุณภาพจาก : www.google.co.th

หรือในบางกรณีที่วิศกรเครื่องจักร ก็นำเครื่องวัดความเร็วลมมาวัดกำลังของพัดลมระบายอากาศของโรงงาน เพื่อควบคุมอุณภูมิและประสิทธิภาพการระบายอากาศของตัวอาคารว่าอยู่ในระดับมาตราฐานหรือไม่ เพื่อป้องกันเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

4. เครื่องสแกนสถานที่ 

ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่กำลังมาแรงเลยครับสำหรับเครื่องสแกนพื้นที่รูปแบบต่างๆ ที่ไม่ว่าจะทำอะไรหรือขั้นตอนไหนเจ้าเครื่องสแกนพื้นที่นี้สามารถที่จะเก็บข้อมูลต่างๆ ของพื้นที่ได้อย่างละเอียดยิบ คือแทบได้ว่ามีเครื่องเดียวสามารถที่จะทำงานได้อย่างครบวงจรเลยทีเดียว โดยเครื่องสแกนพวกนี้สามารถเก็บได้ทั้งรูปแบบ สัดส่วน พื้นผิว ปริมาตร และคำนวนออกมาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเครื่องสแกนพื้นที่นี้ก็สามารถที่จะแบ่งออกมาได้หลายรูปแบบตามลักษณะตามแบรนด์ผู้ผลิตดังนี้

Matterport

เป็น Brand ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ เน้นการใช้บริการ Virtual Tour, 360oTour เก็บสถานที่เป็นข้อมูล Digital เพื่อนำมาให้คนมีประสบการณ์เหมือนได้เที่ยวในที่นั้นจริง Matterport รองรับการใช้กล้องมือถือ แต่คุณภาพยังไม่ดีนัก หากเทียบกับ Hardware เช่น Matterport Pro2 เป็นกล้อง 3มิติที่ประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ และกล้อง Infrared เมื่อสั่งการเครื่องจะถ่ายภาพหมุนรอบตัวเอง 360o

  • ราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับคุณภาพ 134Mega Pixel
  • ใช้งานง่ายผ่าน App ใน iOS และ Android
  • ข้อดี เก็บรูปได้สวยงาม ใช้ง่าย
  • ข้อเสีย ยังไม่เหมาะกับการสแกน Outdoor และยังให้คุณภาพ 3D ไม่ดีเท่า Laser Scanner
slam 100 เครื่องสแกนระบบ Lidar ประสิทธิภาพสูงที่สามารถยิง piont cloud ได้ถึง 360,000 จุด/วินาที
Leica BLK 360 เป็นเครื่องสแกน Lidar scan แบบ stan alone

Lidar /Laser Scanner

ระบบนี้ให้เครื่องมือ Laser Scanner ยิงแสงเลเซอร์ ผ่านกระจกหมุนหักเหแสง เลเซอร์จะยิงกระจากไปทั่วบริเวณ 300,000 – 1,600,000 จุด/วินาที กล้องเก็บค่าแสงที่สะท้อนสร้างเป็นจุด Point Cloud ระบบนี้ราคาแพง แต่แม่นยำมากที่สุด นิยมใช้ในเชิงวิศวกรรม สถาปัตยกรรม

  • ใช้เลเซอร์ยิงไปรอบตัว 300,000-1,600,000 จุด/วินาที
  • แม่นยำที่สุด สามารถนำค่าไปวัดระยะ พื้นที่ ปริมาตร
  • แพงที่สุด แต่คุณภาพดีที่สุด
  • ทำงานได้ทั้ง Indoor, Outdoor
ขอบคุณภาพจาก www.google.co.th
ภาพการสร้างโมเดลพื้นที่จากระบบ Photogrametry ขอบคุณภาพจาก www.google.co.th

Photogrammetry

ระบบการสแกนด้วยภาพถ่ายจำนวนมาก ทำงานโดยการถ่ายรูปหลายๆรูปที่ชิ้นงานที่ต้องการสแกนโดยรูปภาพต้องมีการเหลื่อมกัน หลายๆมุมมอง นำรูปที่ถ่ายอาจจะ 30 – 200รูป มาเข้า Software เพื่อทำการ Generate ไฟล์ 3มิติ, สามารถนำไฟล์ที่ได้ใช้เชิง Engineer, Medical, Movie, Game, AR, AR, Metaverse ข้อดีของระบบนี้คือ ได้ไฟล์ Texture มีความสมจริงๆมากๆ สีสมจริง ข้อเสียคือ Workflow การทำงานยุ่งยาก ต้องมีความรูปและความชำนาญการ (ต้อง Training มากระดับหนึ่งเลย)

  • ถ่ายรูปชิ้นงาน เหลื่อมกัน มุมมองแตกต่างกัน 30 – 200รูป (ใช้กล้องธรรมดา ถ่ายพื้นราบ, ใช้ Drone ถ่ายภาพมุมสูง)
  • นำรูปที่ได้ไปเข้าต่อใน Software
  • ได้ไฟล์ 3มิติ สามารถไปทำงานต่อได้หลากหลาย Engineer, Medical, Movie, Game, VR, AR
  • ข้อดี ไฟล์ที่ได้มี Texture สีสมจริงมาก, ไม่จำกัดขนาดวัตถุที่ต้องการสแกน หัวคน, ภูเขาทั้งลูก
  • ข้อเสีย Workflow การทำงานซับซ้อน ต้องการการ Training

5. เครื่องเช็คกำลังไฟ

ขอบคุณภาพจาก : www.google.co.th

แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับงานอาคารสถานที่ก็คือเรื่องของไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ในอาคาร บ้านเรือนอย่างแน่นอน แต่ว่าในความสะดวกสบายจากไฟฟ้าแล้ว ก็แฝงไปด้วยอันตรายเช่นเดียวกัน เครื่องเช็คกำลังไฟจึงเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมไปทำงาน และทำการตรวจเช็คเป็นอย่างแรกก่อนเริ่มงาน เพราะหากมีกระแสไฟรั่ว จะนำไปหาเหตุที่ไม่คาดฝันก็เป็นได้

6. เครื่องสแกนโมเดล

เป็นอุปกรณ์คู่กายชนิดใหม่ของวิศวกรเลยก็ว่าได้ เพราะหลายๆ ครั้งที่ผู้ออกแบบนั้นต้องการที่จะเอาวัตถุหรือว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้างหรือออกแบบ ซึ่งสิ่งที่ผู้รับเหล่าต้องทำก็คือการคัดลอกรูปแบบและสัดส่วนที่มีความใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด ซึ่งตอบโจทย์กับเครื่องสแกน 3มิติเป็นอย่างมากเพราะในปัจจุบันเครื่องสแกนนั้นถูกผลิตออกมาให้มีขนาดกระทัดรัดและ ราคานย่อมเยา สามารถสแกนโมเดลได้อย่างแม่นยำ และมีความละเอียดสูงมาก จึงทำให้วิศวกรหลายๆ ท่านหันมาใช้เครื่องสแกน 3 มิติกันอย่างแพร่หลาย

7. เครื่องพิมพ์ 3มิติ

เครื่องมือปริ้น 3ดี ใช้ในขี้นแบบ 3มิติ ออกมาให้จับต้องได้ โดยพิมพ์จากไฟล์ 3มิติ (CAD File เช่น STL,OBJ,3MF) เพื่อการสร้างชิ้นงานต้นแบบ Prototype หรือสามารถใช้จริงได้เลย สามารถนำไปใช้ได้กับทุกธุรกิจไม่ว่าจะ ทางวิศวะกรรม การศึกษา การออกแบบ ทางการแพทย์ สถาปัตยกรรม โดยเครื่อง 3D Printer ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ประเภท คือ ระบบเส้น(FDM/FFF) ,ระบบน้ำเรซิ่น(SLA/DLP/LCD)ระบบขึ้นรูปด้วยเลเซอร์(SLS/SLM) เรา 3DD ขายเครื่อง 3D Printer ราคาไม่แพง ถูก-เกรดอุตสาหกรรม ทำความรู้จักเครื่องพิมพ์ 3มิติที่นี่…

FDM 3D Printerเครื่องพิมพ์ 3มิติระบบเส้นพลาสติก (ถูก ใช้งานแพร่หลาย)

SLA 3D Printer เครื่องพิมพ์ 3มิติระบบน้ำเรซิ่น (สวย งานละเอียดที่สุด)

SLS, SLM, Color 3D Printer เครื่องพิมพ์ 3มิติ ระบบอื่นๆ เน้นคุณภาพสูง ใช้งานได้เลย สีสมจริง

3D Material วัตถุดิบ หมึก สำหรับเครื่องพิมพ์ 3มิติ