Unbox & Review การใช้งาน Rokoko Smart Suit Pro II (Update 2024)

Unbox & Review การใช้งาน Rokoko Smart Suit Pro II (Update 2024)

เทคโนโลยีการตรวจจับและบันทึกข้อมูลการเคลื่อนไหวอย่าง Motion Capture นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้กันมาอย่างยาวนาน ยิ่งในวงการภาพยนตร์ระดับ Hollywood ที่มีตัวละคร
ที่ไม่สามารถใช้คนจริงๆในการแสดงได้ อย่างเช่น ตัวละครแฟนตาซีทั้งหลาย ที่ต้องสร้างขึ้นมาและใช้คนทำการแสดงผ่านเทคโนโลยี Motion Capture นี่เอง

ซึ่งที่จริงแล้วเทคโนโลยี Motion Capture มีราคาที่ค่อนข้างสูง มีความซับซ้อนและใช้งานค่อนข้างยาก เช่น จะต้องติดจุด Marker ตามตัวนักแสดง แต่เทคโนโลยี Motion Capture เอง
ก็มีการพัฒนาอยู่เสมอ จึงทำให้ปัจจุบัน เรามีชุดสุดล้ำ อย่างเจ้าชุด Rokoko Smart Suit Pro II ที่เลือกใช้ระบบ Sensor Tracking หรือการตรวจจับการเคลื่อนไหวด้วย Sensor
ที่ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่ายขึ้นไม่ต้องติด Marker ตามตัว ถูกพัฒนาโดย Rokoko บริษัทสัญชาติ Denmark ที่มีราคาที่จับต้องได้ ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงเทคโนโลยี Mocap ได้ง่ายขึ้น
หรือพูดง่ายๆก็คือเราสามารถสร้างงาน ภาพยนตร์ Animation ระดับโปรได้จากที่บ้านเลยทีเดียว

ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.google.com

วันนี้เราจึงจะมา Unbox&Review ชุด Rokoko Smart Suit Pro II โดยจะใช้งานคู่กับ Rokoko Smart Gloves หรือถุงมือตรวจจับการเคลื่อนไหว เพื่อให้การทำงานตรวจจับบันทึกการเคลื่อนไหว
สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และเพื่อตอบทุกข้อสงสัยสำหรับผู้ที่สนใจที่จะใช้งาน เช่น ประกอบไปด้วยส่วนประกอบอะไรบ้าง? สวมใส่ยากมั้ย? ประสิทธิภาพการตรวจจับการเคลื่อนไหวเป็นอย่างไร?
รวมถึงสอนวิธีการใช้งานเบื้องต้นด้วย รับรองว่าใช้งานไม่ยากถึงแม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็สามารถใช้งานได้อย่างแน่นอน


โดยจะแบ่งหัวข้อหลักๆ ออกเป็นดังนี้

อุปกรณ์และการสวมใส่
เริ่มแรกเราก็จะมา Unbox เจ้าชุด Rokoko Smart Suit Pro II กันก่อน โดยตัวแพ็คเกจมามาในรูปแบบกล่องสีดำ เรียบหรู นับว่าดูดีพอสมควร ในกล่องประกอบไปด้วยชุด Motion Capture,
สายเชื่อมต่อ USB Type-C, ไม้แขวนและถุงสำหรับใส่ชุด ก็ถือว่าครบครันสำหรับการใช้งานเลยทีเดียว


ในส่วนของตัวชุดนั้น เนื้อผ้าค่อนข้างดีมีความยืดหยุ่นสูงเพื่อให้รองรับกับการบทบาทการแสดงที่ Active ต่างๆ เช่นบทบู๊แอ็คชั่น และยังเพื่อให้สามารถสวมใส่ได้กระชับกับตัวนักแสดง
ให้ตัวเซ็นเซอร์มีความมั่นคงอยู่ในตำแหน่งเสมอ เพื่อที่การตรวจจับการเคลื่อนไหวจะได้มีประสิทธิภาพสูงสุด และอีกหนึ่งจุดที่ทาง Rokoko ให้ความสำคัญนั่นก็คือเรื่องของการระบายอากาศ
ซึ่งถือว่าดีพอสมควร เพราะเนื่องจากชุดมีความพอดีกับกับตัวนักแสดง เมื่อทำการแสดงที่ต้องเคลื่อนไหวมากๆอาจทำให้นักแสดงเหงื่อออกได้ง่าย การที่ชุดระบายอากาศได้ดีก็ถือว่าช่วยได้พอสมควร


ตัวชุดจะประกอบตัวระบบเซ็นเซอร์ 19 จุดที่ทำงานส่งข้อมูลไร้สายด้วย Wi-Fi แบบ Real Time โดยเซ็นเซอร์ทั้งหมดจะถูกติดตั้งไว้ทั้งตัว และตามแขนขา โดยเชื่อต่อกันผ่านกล่องควบคุมที่อยู่ด้านหลังชุด
ตัวเซ็นเซอร์ทั้ง 19 จุดนั้นจะมีตีนตุ๊กแกสำหรับแปะติดกับส่วนต่างๆของตัวชุด ตามจุดที่กำหนด เพื่อให้สามารถถอดตัวเซ็นเซอร์ออกจากซุด เพื่อนำไปซักทำความสะอาดได้ สามาถถอดเองได้ไม่ยาก
พียงแค่รูดซิปที่แขนและขาออกก็สามารถแกะเซ็นเซอร์ออกได้เลย


ตัวกล่องควบคุมจะอยู่ด้านหลังของชุดและเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมต่อของตัวเซ็นเซอร์ทั้งชุด โดยสายไฟและเซ็นเซอร์จะถูกร้อยผ่านช่องที่มีในชุดก่อนจะถูกติดไปตามแขนและขา
ส่วนตัวสาย USB สำหรับเสียบ Power Bank เพื่อให้พลังงานกับชุดจะถูกร้อยมาที่กระเป๋าด้านหน้าเพื่อเสียบและเก็บ Power Bank



ต่อมาก็ Unbox ตัว Rokoko Smart Gloves ที่มีแพ็คเกจเป็นกล่องสีดำเหมือนชุด แต่ตัวถุงมือจะถูกบรรจุในกระเป๋าที่ซิปอีกที ตัวถุงมือจะมีเซ็นเซอร์และกล่องควบคุมติดมาด้วยเลย
ทำให้ไม่สามารถถอดซักได้ แต่ก็สามารถใช้น้ำยาซักแบบแห้งได้ และอุปกรณ์ที่มีมาด้วยในกล่องคือสาย USB Type-C 2 เส้น สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือ Power Bank

สำหรับการสวมใส่ก็ไม่ยาก ให้รูดซิบที่ด้านหน้าของชุด จากนั้นสวมขาทั้งสองข้าง และสวมแขนซ้าย-ขวา รูดซิปปิด จากนั้นปรับชุดให้กระชับด้วยสายรัดที่แขนและขาที่เป็นแบบตีนตุ๊กแก
ส่วนถุงมือก็สวมได้เลย และรัดข้อมือด้วยตีนตุ๊กแกเหมือนกัน โดยอาจต้องถกช่วงมือของชุดขึ้นก่อนเพื่อให้สวมถุงมือได้ ซึ่งหากใช้งานร่วมกับชุดก็ต่อกับสายที่อยู่ปลายแขนทั้ง 2 ข้างได้เลย
(เมื่อผ่านการเชื่อมต่อชุดกับคอมพิวเตอร์ครั้งแรกแล้ว)


การเชื่อมต่อและการCalibrate
มาถึงขั้นตอนการเชื่อมต่อชุดเข้ากับคอมพิวเตอร์ ก่อนอื่่นก็ต้อง Download และติดตั้งโปรแกรมจากทาง Rokoko ที่ชื่อว่า Rokoko Studio โดยสามารถ Download ผ่านเว็บไซต์ได้เลย
จากนั้นล็อกอินด้วย Account ของเรา เนื่องจากโปรแกรมจะทำงานแบบออนไลน์ ที่จะเก็บ Project ต่างๆที่เราบันทึก Mocap ไว้บนเซิฟเวอร์ สามารถทำงานบนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้
ผ่าน Account เดียวกัน



ในส่วนของ Interface ของโปรแกรม Rokoko Studio นั้นดูมีความเรียบง่าย ค่อนข้างดูเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากเลยทีเดียว มีการแบ่งส่วนการทำงานของโปรแกรมไว้อย่างชัดเจน


ในส่วนของการเชื่อมต่อนั้น ถือว่าค่อนข้างง่าย ตัวชุดจะเชื่อมต่อผ่านระบบ Wifi ซึ่งต้องเป็น Wifi วงเดียวกับของคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อที่ดี ควรเลือกใช้สัญญาณ Wifi
มีความเสถียรด้วย โดยในการเชื่อมต่อครั้งแรกให้ทำการต่อสาย USB จากชุดและถุงมือเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อเลือกเครือข่าย Wifi ที่จะให้ชุดและถุงมือเชื่อมต่อ จากนั้นสามารถถอดออกได้
และเชื่อมต่อผ่านระบบ Wifi แทน และในครั้งการทำงานในครั้งต่อๆไปชุดกับถุงมือก็จะเชื่อมต่อกับโปรแกรมโดยอัตโนมัติ


หลังจากที่เชื่อมต่อชุดเข้ากับโปรแกรม ก่อนที่จะเริ่มใช้งานได้เราก็ต้องสร้างตัว Actor ที่เป็นตัวแทนของนักแสดงกันก่อนโดยกดสร้างที่ด้านซ้ายที่ Tab Actor คลิกที่ Icon + กด Add new Actor
จะเด้งหน้าต่างให้พิมพ์ชื่อ เลือกสีตัวละคร กำหนดส่วนสูงนักแสดง นอกจากนี้ยังสามารถใส่สัดส่วนที่เจาะจงมากขึ้น เช่นความกว้างไหล่ ความยาวของมือ เพื่อให้การบันทึก Mocap มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ขั้นตอนต่อไปก็คือการ Calibrate หรือการเซ็ทตัวละครให้ซิงค์กับชุดให้พร้อมใช้งาน เราคลิกลาก list อุปกรณ์ที่เราเชื่อมต่อใน Tab Input devices ไปใส่ตัวละครของเราใน Tab Actor
จากนั้นกดปุ่ม Calibrate และให้เรายืนท่าเดียวกับตัวอย่างท่ายืนกับตัวละครในโปรแกรม ซึ่งถือว่าการ Calibrate ชุดให้พร้อมใช้งานทำไม่ยากเลย

Record & Edit Clip
หลังจากทำการ Calibrate แล้วการเคลื่อนไหวของเราก็จะลิงค์ไปยังตัวละครบนโปรแกรมแบบ Real Time แล้วซึ่งพร้อมแล้วสำหรับการ Record Motion โดยกดปุ่ม Record สีแดงที่ด้านล่าง
ซึ่งสามารถตั้งค่าให้นับถอยหลังได้ โดยการบันทึก Mocap จะแบ่งออกเป็น Clip แนะนำให้ Record แต่ละคลิปไม่เกิน 2- 3 นาที เพื่อให้การจัดการไฟล์และการ Export ไม่มีปัญหา


ถึงแม้นักแสดงจะแสดงท่าทางที่มีความแอ็คชั่น หรือมีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วรุนแรง ความยืดหยุ่นของชุดและความไวของระบบเซ็นเซอร์ของชุดก็สามารถตรวจจับและบันทึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นอกจากนี้อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือเราสามารถจัดการไฟล์ Mocap เบื้องต้นได้ โดยดับเบิ้ลคลิกเข้าไปที่ Clip ที่ต้องการ จะเห็น Timeline ของการบันทึก Mocap ของเรา สิ่งที่ทำได้เบื้องต้น
คือการ Trim หัว/ท้ายของคลิปเพื่อให้ Clip Mocap เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการ Export


และอีกส่วนที่น่าสนใจ ก็คือการที่เราสามารถ Clean-Up Motion เบื้องต้นได้โดยการแก้ไข Time line ของส่วนเท้าซ้ายและขวา (แถบสีฟ้าและเขียว) ส่วนที่มีแถบคือช่วงที่เท้าเราติดอยู่บนพื้น
ถ้าเรากระโดดจนเท้าลอยจากพื้น ตัวแถบ Timeline จะขาดตามช่วงที่กระโดด เราสามารถยืดหดให้การยกเท้าทั้ง 2 ข้างเท่ากันได้ เพื่อที่การเคลื่อนไหวของเราจะได้ดูสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น


นอกจากนี้ยังมีอีกฟังก์ชั่นที่ดูน่าสนุกไม่น้อย อย่างการเพิ่มตัวละครเข้ามาในโปรแกรม ทำให้เราสามารถเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขณะที่ทำการแสดง เพราะท่าทางการเคลื่อนไหว
จะถูกส่งไปยังตัวละครได้โดยตรง โดยตัวละครที่นำมาใส่สามารถใช้ Model ที่ Download ฟรีจาก Mixamo ได้เลย (สามารถดูวิธีการเพิ่มตัวละครได้ที่นี่)


Export & Live Steaming
มาพูดถึงส่วนของการนำข้อมูลการเคลื่อนไหวไปใช้กับงาน หรือการ Export ไฟล์ Mocap ตัว Rokoko ก็มีการตั้งค่าการ Export สำหรับไปใช้งานกับโปรแกรม Animation อื่นๆที่ใช้กันทั่วไปในตลาด
ได้อย่างครอบคลุม ทำให้การทำงานด้วยชุด Rokoko นั้น สามารถประยุกต์ใช้กับงานได้อีกหลายอย่าง เช่น งานภาพยนตร์ Animation Game และการ Live Steaming ผ่านตัวละคร 3D
ซึ่ง Rokoko Studio รองรับการ Export File Format ทั้ง .fbx และ .bvh ซึ่งถือเป็น Format หลักที่ใช้กันในงาน Animation


นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าการ Export ได้อีกหลายส่วน เช่น Skeleton Preset ให้สามารถทำงานได้ดีขึ้นแบบเฉพาะเจาะจง Software เช่น การ Export ไปยัง Unreal


อีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่เป็นจุดเด่นของ Rokoko ที่ไม่พูดถึงไม่ได้นั่นก็คือระบบ Live Steaming ที่เป็นระบบที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลการเคลื่อนไหวไปยังโปรแกรมทำ Animation อื่นๆ ได้แบบ Ream Time
เหมาะกับผู้ที่จะนำไปใช้ในงาน Live Steaming ผ่านตัวละคร 3 มิติอย่างเช่น Vtuber ซึ่งทาง Rokoko รองรับและทำงานร่วมโปรแกรมทำ Animation อื่นๆได้มากกว่า 10 โปรแกรม
เช่น Unreal, Unity, Blender, Maya, Motion builder, Houdini เป็นต้น และที่สำคัญคือบางโปรแกรมที่กล่าวมายังสามารถใช้งานได้ฟรีอีกด้วย

ตัวอย่างการส่งไฟล์ Mocap ไปทำงานใน Blender

ตัวอย่างการ Live Steaming ไปยัง Unreal

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการ Export File Mocap ไปใช้งาน หรือการ Live Steaming ผู้ใช้งานก็ควรต้องมีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับ Software Animation ที่ Rokoko รองรับการทำงาน, Asset File ที่จำเป็น
สำหรับงาน Animation, รวมถึงการใส่กระดูก หรือ Rigging เบื้องต้น แต่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ปัจจุบันก็มีแหล่งความรู้มากมาย สามารถหาศึกษาได้ไม่ยาก

สรุป
โดยรวมแล้วชุด Rokoko ถือเป็นอุปกรณ์สำหรับบันทึก Mocap ที่ใช้งานได้ค่อนข้างง่ายเลยทีเดียว คนทั่วไปสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ไม่ยาก และยิ่งง่ายขึ้นด้วยระบบ Sensor Tracking
ที่ส่งข้อมูลแบบ Wifi ทำให้การเชื่อมต่อชุดเพื่อใช้งานเกิดความคล่องตัวสูง อีกทั้งยังมีความแม่นยำสูง รองรับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว รุนแรง ได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบการส่งออกข้อมูลรองรั
บอย่างครอบคลุมทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาแล้วถือเป็นไอเท็มที่คนทั่วไป Studioขนาดย่อม หรือ สถานศึกษาต่างๆ เข้าถึงได้อย่างไม่ยากเลย

จุดที่น่าสนใจ

  • เนื้อผ้ามีความยืดหยุ่นระบายอากาศได้ดีเหมาะสมต่องาน Mocap อย่างมาก
  • ใช้งานง่ายแม้ไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในงาน Motion Capture ก็ใช้งานได้
  • การเชื่อมต่อที่สะดวก ทำให้คล่องตัวขณะแสดง
  • ประสิทธิภาพการตรวจจับการเคลื่อนไหวมีความแม่นยำ
  • รองรับการทำงานกับโปรแกรมอื่นได้อย่างครอบคลุม

ข้อสังเกตุ

  • หากผู้ใช้มีความรู้พื้นฐานในงาน Animation จะใช้งานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • อุปกรณ์มีความไวต่อสนามแม่เหล็ก เเพื่อการใช้งานที่เสถียรจึงควรหลีกเลี่ยง