MOW ep.6 “ยันต์นางกวัก” เป็นที่นิยมในหมู่พ่อค้าแม่ค้า ทำให้ค้าขายดี มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าขาย|Crystal me

MOW ep.6 “ยันต์นางกวัก” เป็นที่นิยมในหมู่พ่อค้าแม่ค้า ทำให้ค้าขายดี มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าขาย|Crystal me

 “นางกวัก”ตามคติความเชื่อเป็นเทพีแห่งโชคลาภ รูปร่างลักษณะโดยทั่วไปอยู่ในร่างผู้หญิง สวมเครื่องแต่งกาย แต่งองค์ทรงเครื่องประดับแบบไทย นั่งพับเพียบ มือซ้ายจะวางบนตักหรือวางแตะข้างลำตัวส่วนมือขวานั้นจะยกขึ้นมาระดับหัวไหล่ทำท่า“กวักมือเรียก”  ซึ่งคนไทยนั้นมีความเชื่อมาตั้งแต่อดีตแล้วว่าการนับถือบูชานางกวัก นั้นจะช่วยกวักงิน กวักทอง กวักโชค กวักลาภ ซึ่งถือว่ามักนิยมในหมู่ของพ่อค้าแม่ค้า ที่ช่วยเรียกกวักลูกค้าให้มาอุดหนุน เพื่อทำให้กิจการค้าขายเจริญรุ่งเรือง

โบราณนานมา…การนับถือนางกวักนั้น บ้างก็ว่ามีความเชื่อมโยงเริ่มขึ้นมาจากการนับถือแม่โพสพ ซึ่งเป็นการนับถือผีผู้หญิง กระนั้นแล้ว “นางกวัก” ก็คือผีที่พัฒนาเป็นเทพที่คอยกวักเงินกวักทองกวักทรัพย์มาให้ผู้ที่ได้บูชา บันทึกส่งต่อกันมาแต่ในอดีตมีอีกว่า การหล่อปั้นนางกวักนั้นน่าจะเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในยุคกรุงศรีอยุธยา ที่พบเห็นก็จะเป็นขนาดบูชา สร้างจากเนื้อโลหะ ดินเผา รวมถึงมีการแกะสลักด้วยไม้

นางกวักเป็นเครื่องรางของขลัง ที่นิยมในหมู่พ่อค้าแม่ค้า ด้วยนางกวักมีพุทธคุณเด่น ในด้านกวักโชคกวักลาภ กวักเงิน กวักทอง เรียกเงินเรียกทองให้ไหลมาเทมา เป็นมหาเสน่ห์ใครเห็นใครรัก เมตตามหานิยม ทำให้ค้าขายดี มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าขาย วิธีการทำนางกวัก สมัยโบราณนิยมทำนางกวักด้วยงาช้าง ไม้จันทร์หอม หรือแก่นว่านตระกูลเสน่ห์ทั้งหลายเช่น เสน่ห์จันทร์ขาว เสน่ห์จันทร์แดง เสน่ห์จันทร์เขียว เสน่ห์จันทร์หอม หรือไม้มงคลต่างๆ จากนั้นำมาแกะสลัก แล้วลงอักขระขอมหัวใจพระสีวลีผู้เป็นเอตทัคคะทางด้านโชคลาภ คือ “นา ชา ลี ติ” หรือคาถาอื่นๆจากนั้น บริกรรมปลุกเสกอธิษฐานจิตเสร็จแล้วนำไปบูชาที่ร้านค้าได้ ของบูชาแม่นางกวักส่วนมากนิยมบูชาด้วยน้ำแดงน้ำเขียว ดอกไม้หอมหรือพวงมาลัยสด ขึ้นหิ้งทุกวันและน้ำเปล่าอย่าให้ขาด และเครื่องประดับ ตามแบบที่นางกวักใช้หลายๆ แบบถวายให้ด้วยจะดียิ่งขึ้น

จากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ พบว่าประวัตินางกวักมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ นักประวัติศาสตร์ไทยเชื่อว่านางกวักคือเทพหรือเทพีแห่งโชคลาภที่พัฒนามาจากผีบรรพชนตามความเชื่อศาสนาผีไทยโบราณ กล่าวคือแม่นางกวักเป็นสตรีที่มีความสามารถด้านทอผ้าจนกลายเป็นสินค้าสร้างรายได้ โดยที่ความเชื่อเรื่องนางกวักได้รับความนิยมมากขึ้นในสมัยยุครัตนโกสินทร์

นิทานพื้นบ้านของลพบุรีก็ได้กล่าวถึงนิทานพื้นบ้านลพบุรีโดยอิงจากรามรามเกียรติ์โดยมีเนื้อหาคือนางกวักได้ถูกส่งให้ไปเป็นเพื่อนกับนางนงประจันทร์ธิดาของท้าวกกขนากที่ถูกชาวบ้านรังเกียจ ซึ่งไม่นานหลังจากที่นางกวักไปเป็นเพื่อนชาวบ้านต่าง ๆ กลับมารักใคร่ นำพาโชคลาภมาให้ นางนงประจันทร์ขึงถือว่านางกวักเป็นผู้เรียกโชคลาภมาให้

และก็มาบางตำนานที่เชื่อว่านางกวักมาจากอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่าสุภาวดีซึ่งเป็นลูกของพ่อค้า โดยวันหนึ่งได้พบกับพระอรหันต์ ซึ่งก็ได้ประทานพรให้แม่นางกวักประสบความสำเร็จด้านค้าขาย ส่งผลให้ครอบครัวของนางมั่งคั่งร่ำรวย และเมื่อนางเสียชีวิต ก็ได้มีการทำรูปปั้นนางสุภาวดีขึ้นมาบูชาเพื่อความเป็นมงคล

คาถาบูชาแม่นางกวักอีกหนึ่งแบบที่ได้รับความนิยม

ตั้งนะโม 3 จบ ตามด้วย

โอมปู่เจ้าเขาเขียวมีลูกสาวคนเดียวชื่อนางกวัก  หญิงเห็นหญิงทัก ชายเห็นชายรักทุกถ้วนหน้า

พวกพ่อค้าพาณิชย์ พากูไปค้าถึงเมืองแมน  กูจะค้าหัวแหวนก็ได้วันละแสนทะนาน

กูจักค้าสารพัดกาลก็ได้โดยคล่อง  กูจักค้าทอง ทองก็เต็มหาบ

เป็นร้อยสามหาบมาเรือน  สามเดือนเป็นเศรษฐี

สามปีเป็นพ่อค้าสำเภา  พระฤาษีผู้เป็นเจ้าประสิทธิให้ลูกคนเดียว

เอหิ จิตตัง ปิยัง มะมะ มามา

มหาลาภาภะวันตุเม

โชคลาภเงินทอง อันอยู่ จตุทิศา

อัฎฐะทิศา ไหลมาเทมา

สมาทิมา เอหิมามา สัพเพชะนา พหูชะนา

คาถาข้างต้นนี้ว่ากันว่าสำคัญนัก…เจ้าของกิจการร้านรวงมุ่งเน้นพลังบวกเอาดีด้านค้าๆขายๆ เมตตามหานิยม จักส่งเสริมให้ดีแล้วก็ยิ่งดีขึ้นๆไปอีกตามลำดับ ใครศรัทธาว่านโมก่อน 3 จบ แล้วก็ตามด้วย “คาถาบูชานางกวัก” ฉบับแปลนี้กันได้


เริ่มทำของขวัญกันเลย